วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บรรณานุกรม

จัดทำโดย
นางสาว ฉัฏฐสุดา สันติสุข ม.4/3 เลขที่ 59
นางสาว อนัญญา แพทยานนท์ ม.4/3 เลขที่ 61

http://www.learners.in.th/blogs/posts/95290
http://www.rayongwit.ac.th/graphicweb/page/unit1-1.html
http://www.rayongwit.ac.th/graphicweb/page/unit1-2.html
http://theneous.exteen.com/20111108/entry-1
http://www.kroobannok.com/72
http://internet402.exteen.com/20111031/entry-2
http://gpd-work.blogspot.com/2011/10/blog-post_6426.html
http://advertising.clickingme.com/index.php/2009-11-17-17-31-26/25-2009-11-23-13-37-33
http://por2228.exteen.com/20111026/entry-6
http://www.learners.in.th/blogs/posts/210116
http://navigatorgraphic2d.blogspot.com/2011/11/rgb-3-pixel-picture-element-2-raster.html
http://group12lovely.blogspot.com/2011/10/blog-post_2810.html
http://cptd.chandra.ac.th/sygraphic/content/type.html
http://www.kroobannok.com/58
http://por2228.exteen.com/20111026/entry-9

ความหมายของภาพกราฟิก




กราฟิก (Graphic)เป็นคำมาจากภาษากรีกว่า Graphikos หมายถึง การเขียนภาพด้วยสีและเขียนภาพขาวดำและคำว่า Graphein มีความหมายทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น เมื่อรวมทั้งคำ Graphikos และ Graphein เข้าด้วยกันวัสดุกราฟิกจะหมายถึงวัสดุใด ๆ ซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน และอักษรข้อความรวมกันภาพวาดอาจจะเป็น แผนภาพ(Diagram) ภาพสเก็ต(Sketch) หรือแผนสถิติ (Graph) หรืออาจเป็นคำที่ใช้เป็นหัวเรื่อง (Title) คำอธิบายเพิ่มเติมของแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ และภาพโฆษณา อาจวาดเป็นการ์ตูนในรูปแบบหรือประเภทต่างๆ ภาพสเก็ต สัญลักษณ์ และภาพถ่าย สามารถใช้เป็นวัสดุกราฟิกเพื่อสื่อความหมายในเรื่องราวที่แสดงข้อเท็จจริงต่าง ๆได้

การประยุกต์การใช้งานกราฟิก


ในปัจจุบันโลกได้วิวัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งการใช้งานกราฟิกนั้นสามารถสื่อความหมายได้ ดังนั้นงานกราฟิกนั้น จะช่วยให้มนุษย์สามารถสื่อสารกันได้ เข้าใจกันได้ เกิดจินตนาการร่วมกัน ในการนำสื่อกราฟิกมาใช้งานนั้นไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารทางใด ผู้ที่นำเอาสื่อกราฟิกมาใช้ต้องคำนึงถึงเงื่อนไขและปัญหาเหล่านี้ด้วย คือ เพื่อนำมาใช้ในการขบคิด เพื่อแก้ปัญหา จัดระบบข้อมูล และการนำเอาศิลปะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการสื่อสารมากที่สุด นอกจากนี้งานกราฟิกนั้นยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในด้านต่างๆอีกมากมาย เช่น ใช้ในการเป็นสื่อในการเรียน ใช้เพื่อโน้มน้าวจิตใจในการโฆษณา ใช้ในการจัดนิทรรศการต่างๆ หรือใช้ในการจัดแสดงงานงานกราฟิกต่างๆได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้สื่อในการคิดและการสื่อสารความหมายของมนุษย์เนื่องด้วยคุณสมบัติของมันทำให้กราฟิกสามารถนำมาลดข้อจำกัดหลายๆอย่างที่เกี่ยวกับเวลา การคิด การจำจึงทำให้การสื่อสารความหมายของมนุษย์มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เราจึงควรให้ความสำคัญกับการใช้กราฟิกมากขึ้น      
  • ความเจริญทางด้านวิชาการ มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วเข้าใจง่ายขึ้นทำให้การเรียนรู้เป็นไปได้อย่างง่ายดาย
  • ความเจริญทางด้านเทคโนโลยี สามารถผลิตงานได้ง่าย รวดเร็ว ราคาถูก มีประสิทธิภาพ
  • ความเป็นโลกไร้พรมแดน ผู้คนสามารถสื่อสารกันได้ทุกมุมโลกทำให้สามารถแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่ต่างกันได้อย่างง่ายดาย
  • ความแตกต่างระหว่างทุกคน เนื่องจากคนเรามีความคิดความอ่านที่ต่างๆกันไปซึ่งการใช้งานกราฟิกนี้จะเป็นสื่อหนึ่งที่ทำให้เราสามารถเข้าใจได้อย่างตรงกัน

ชนิดและรูปแบบไฟล์กราฟิก


1. กราฟิกไฟล์สำหรับอินเทอร์เน็ต 

ไฟล์กราฟิกที่สนับสนุนระบบอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันมี 3 ไฟล์หลัก ๆ คือ
  • ไฟล์สกุล GIF ( Graphics Interlace File) 
  • ไฟล์สกุล JPG ( Joint Photographer's Experts Group) 
  • ไฟล์สกุล PNG ( Portable Network Graphics) 

1.1ไฟล์สกุล GIF (Graphics Interlace File)

  เป็น ไฟล์กราฟิกมาตรฐานที่ทำงานบนอินเทอร์เน็ต มักจะใช้เมื่อ ต้องการไฟล์ที่มีขนาดเล็ก จำนวนสีและ ความละเอียดของภาพไม่สูงมากนัก ต้องการพื้นแบบโปร่งใส ต้องการแสดงผลแบบโครงร่างก่อน แล้วค่อยแสดงผลแบบละเอียด ต้องการนำเสนอภาพแบบภาพเคลื่อนไหว
  • จุดเด่น : ขนาดไฟล์ต่ำ สามารถทำพื้นของภาพให้เป็นพื้นแบบโปร่งใสได้ ( Transparent) มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ Interlace มีโปรแกรมสนับการสร้างจำนวนมาก เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว ความสามารถด้านการนำเสนอแบบภาพเคลื่อนไหว ( Gif Animation) 
  • จุดด้อย : แสดงสีได้เพียง 256 สี 
            ไฟล์ .GIF มี 2 สกุล ได้แก่ GIF87 พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1987 เป็นไฟล์กราฟิกรุ่นแรกที่สนับสนุนการนำเสนอบนอินเทอร์เน็ต เป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็กและแสดงผลสีได้เพียง 256 สี และกำหนดให้แสดงผลแบบโครงร่างได้ (Interlace) GIF89A พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1989 เป็นไฟล์กราฟิกที่พัฒนาต่อจาก GIF87 โดยเพิ่มความสามารถการแสดงผลแบบพื้นโปร่งใส ( Transparent) และการสร้างภาพเคลื่อนไหว (GIF Animation) ซึ่งเป็นไฟล์กราฟิกที่มีความสามารถพิเศษโดยนำเอาไฟล์ภาพหลายๆ ไฟล์มารวมกันและนำเสนอภาพเหล่านั้นโดยอาศัยการหน่วงเวลา มีการใส่รูปแบบการนำเสนอลักษณะต่างๆ ( Effects) ในลักษณะภาพเคลื่อนไหว 

1.2 ไฟล์สกุล JPG (Joint Photographer’s Experts Group)

            เป็น อีกไฟล์หนึ่งที่นิยมใช้บน Internet มักใช้กรณี ภาพที่ต้องการนำเสนอมีความละเอียดสูง และใช้สีจำนวนมาก (สนับสนุนถึง 24 bit color) ต้องการบีบไฟล์ตามความต้องการของผู้ใช้ ไฟล์ชนิดนี้มักจะใช้กับภาพถ่ายที่นำมาสแกน และต้องการนำไปใช้บนอินเทอร์เน็ต เพราะให้ความคมชัดและความละเอียดของภาพสูง
  • จุดเด่น : สนับสนุนสีได้ ถึง 24 bit สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ได้ตามที่ต้องการ มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ Progressive มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว ตั้งค่าการบีบไฟล์ได้ ( compress files) 
  • จุด ด้อย  : ทำให้พื้นของรูปโปร่งใสไม่ได้ ข้อเสียของการบีบไฟล์ ( Compress File)กำหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูง ( 1 - 10) แม้ว่าจะช่วยให้ขนาดของไฟล์มีขนาดต่ำแต่ก็มีข้อเสีย คือ เมื่อมีการส่งภาพจาก Server ไปแสดงผลที่ Client จะทำให้การแสดงผลช้ามาก เพราะต้องเสียเวลาในการคลายไฟล์ ดังนั้นการเลือกค่าการบีบไฟล์ ควรกำหนดให้เหมาะสมกับภาพแต่ละภาพ

1.3 ไฟล์สกุล PNG (Portable Network Graphics)

  • จุดเด่น : สนับ สนุนสีได้ถึงตามค่า True color (16 bit, 32 bit หรือ 64 bit) สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ได้ตามที่ต้องการ มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียด ( Interlace) สามารถทำพื้นโปร่งใสได้ 
  • จุดด้อย : หากกำหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูง จะใช้เวลาในการคลายไฟล์สูงตามไปด้วย แต่ขนาดของไฟล์จะมีขนาดต่ำ ไม่สนับสนุนกับ Graphic Browser รุ่นเก่า สนับสนุนเฉพาะ IE 4 และ Netscape 4 ความละเอียดของภาพและจำนวนสีขึ้นอยู่กับ Video Card โปรแกรมสนับสนุนในการสร้างมีน้อย

2. กราฟิกสำหรับงานพิมพ์        
 

2.1 TIFF (Tagged Image File Format)           


         TIFF เป็นไฟล์ที่ใช้ได้กับ bitmap เท่านั้น พัฒนาขึ้นโดยความร่วมของ Aldus Corporation และ Microsoft TIFF เก็บบันทึกข้อมูลรูปภาพได้หลากหลายใน Tagged Field จึงกลายเป็นชื่อเรียกของรูปแบบไฟล์ ซึ่งแต่ละ Tagged Field สามารถบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ bitmap หรือชี้ไปยัง Field อื่นได้ ซอฟต์แวร์ที่อ่านไฟล์นี้สามารถข้ามการอ่าน Field ที่ไม่เข้าใจหรือไม่จำเป็นไปได้
        TIFF เป็นรูปแบบที่มีความยืดหยุ่น สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ เนื่องจากมี Tagged Field ให้ใช้ต่างกันหลายร้อยชนิด ไฟล์แบบนี้จึงมีข้อดี คือ ใช้ได้กับโปรแกรมกราฟิกทุกประเภท สามารถใช้ได้ในระบบคอมพิวเตอร์หลายๆ ระบบ และกำหนดขอบเขตที่กว้างขวางของภาพ bitmap ได้ นอกจากนี้ TIFF ยังสามารถทำบางสิ่งที่ bitmap อื่นทำไม่ได้ และเป็นรูปแบบที่สนับสนุนทั้งระบบ PC และ Macintosh Tagged Image File Format
นามสกุลที่ใช้เก็บ TIF ระบบปฏิบัติการ Windows, UNIX, Mac Windows เวอร์ชันที่ได้รับการพัฒนาจนถึงปัจจุบัน 5.0 และ 6.0 ซอฟต์แวร์ที่สร้างและเปิดไฟล์ โปรแกรมแก้ไข Bitmap และโปรแกรม Desktop Publishing เช่น PageMaker, QuarkXPress, CorelVentura, PhotoShop, PaintShop Pro ความสามารถทางด้านสี ขาวดำ 1 บิต, Grayscale (4,8, 16 บิต), แผงสี (ได้ถึง 16 บิต), สี RGB (ได้ถึง 48 บิต), สี CMYK (ได้ถึง 32 บิต) การบีบขนาดข้อมูล LZW, PackBits (Macintosh), JPEG (TIFF v 6.0), RLE หลายรูปแบบ

2.2  EPS (Encapsulated PostScript)             

           EPS เป็นเซตย่อยของภาษาสั่งการในการจัดหน้าแบบ PostScript ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้อย่างแพร่หลายในการแลกเปลี่ยนรูปแบบภาพกราฟิก ไฟล์แบบ EPS สามารถบรรจุภาพที่ซับซ้อนและมีรายละเอียดอย่างสูงทั้งในรูปแบบ Vector และ Bitmap โดยใส่ไว้ในโปรแกรมการแก้ไข Vector และโปรแกรม Desktop Publishing กราฟิกแบบ EPS มีข้อจำกัดอย่างหนึ่งคือ จะต้องพิมพ์ออกในเครื่องพิมพ์แบบ PostScript เท่านั้น เพราะเครื่องพิมพ์ไม่สามารถแปลรหัสการพิมพ์ PostScript ได้ Encapsulated PostScript นามสกุลที่ใช้เก็บ EPS ระบบปฏิบัติการ Windows, Windows NT, UNIX, Mac Windows เวอร์ชันที่ได้รับการพัฒนาจนถึงปัจจุบัน EPS เป็นเซตย่อยของ Adobe PostScript
ซอฟต์แวร์ ที่สร้างและเปิดไฟล์ โปรแกรมแก้ไข Vector และโปรแกรม Desktop Publishing เช่น AutoCAD, CorelDRAW, PageMaker, QuarkXPress, Adobe Illustrator ความสามารถทางด้านสี ขยายได้ถึง 24 บิต RGB และ HSB 32 บิต, CMYK, Grayscale, แผงสีแบบอินเด็กซ์ การบีบขนาดข้อมูล การใส่รหัสแบบไบนารี

2.3 PDF (Portable Document Format)                              

             PDF เป็นรูปแบบไฟล์ที่ใช้ในโปรแกรม Adobe Acrobat ใช้สำหรับเอกสารบนสื่ออิเล็คทรอนิกส์ เช่น บนอินเทอร์เน็ตหรือบริการออนไลน์ต่างๆ เนื่องจากเป็นไฟล์ขนาดเล็กทำให้สามารถสร้างเอกสาร เช่น โบร์ชัวร์ หรือ แค็ทตาล็อกส่งไปทางอินเทอร์เน็ตได้ ใช้ได้กับทั้งแบบ Bitmap และ Vector และสนับสนุนทั้งระบบ PC และ Macintosh
             PDF เหมาะสำหรับเอกสารทางเทคนิคที่จะเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต ผู้อ่านสามารถพิมพ์ออกมาได้หรือเรียกดูได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพราะรูปแบบ อักษรที่ใช้ประกอบอยู่ในตัวซอฟต์แวร์แล้ว และเนื่องจากใช้ตัวอักษรแบบ PostScript ซึ่งเป็น vector-based จึงสามารถย่อและขยายได้ตามต้องการ โดยคุณภาพของงานไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งยังสามารถนำไปสร้างเป็นเอกสาร แบบ Illustration หรือ Bitmap ได้อีกด้วย และเมื่อพิมพ์ออกมาก็จะไม่เสียคุณภาพ ไม่ว่าจะใช้ค่าความละเอียดของภาพเป็นเท่าใด เช่นเดียวกับไฟล์ประเภท Vector อื่นๆ เช่น PS หรือ PRN นอกจากนี้ PDF เป็นไฟล์ที่ประกอบด้วยข้อมูล PostScript จึงสามารถนำไปใช้ในโปรแกรมตกแต่งแก้ไขภาพ หรือ โปรแกรมประเภท Illustration ได้เช่นเดียวกับ EPS Portable Document Format นามสกุลที่ใช้เก็บ PDF ระบบปฏิบัติการ Windows, Mac OS, UNIX และ Dos ซอฟต์แวร์ที่สร้างและเปิดไฟล์ PhotoShop, Acrobat ความสามารถทางด้านสี RGB, Indexed-Color, CMYK, GrayScale, Bitmap และ Lap Color

สีและแสงที่ใช้ในงานกราฟิก


การปรับสีและแสงเงาให้กับรูปภาพมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการตกแต่งภาพ เนื่องจากภาพภายหรือภาพสแกนอาจมีแสงไม่เพียงพอทำให้ภาพดูมืดไม่สวยงาม จึงมีเครื่องมือเพื่อใช้จัดการกับข้อบกพร่องของภาพถ่ายหรือภาพสแกนที่มีปัญหาด้านสีและแสง ซึ่งการใช้งานคำสั่งต่างๆ สามารถทำได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว

การใช้คำสั่ง Imageในการปรับสีและแสงเงาของรูปภาพ

     คำสั่งที่ใช้ปรับสีและแสงเงาให้กับรูปภาพมีหลายคำสั่ง ซึ้งการใช้งานคำสั่งต่างๆ จะมีลักษณะการทำงานที่คล้ายกัน จึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้ที่จะเลือกใช้คำสั่งต่างๆ  ซึ่งมีดังนี้

คำสั่ง Levels

เป็นคำสั่งที่ใช้ปรับสีและแสงเงาให้กับรูปภาพ เพื่อให้ภาพมีคุณภาพที่ดีขึ้น คือมีความมืดความสว่างพอดีและชัดเจน ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
คลิกที่เมนู Image -> Adjustment -> Levels จะปรากฏหน้าต่าง Levels >Preview เพื่อให้แสดงตัวอย่างการปรับสีและแสงเมื่อปรับภาพได้ตามต้องการแล้ว คลิกที่ปุ่ม OK

คำสั่ง Auto Levels

เป็นคำสั่งที่ใช้ปรับความมืดและความสว่างให้กับภาพแบบอัตโนมัติ ซึ่งจะปรับสีในแต่ละแชนเนลอย่างเป็นอิสระต่อกัน จึงอาจทำให้ภาพเกิดสีเพี้ยนได้ ดังนั้นควรใช่กับภาพที่มีโทนสีไม่ต่างกันมากเพื่อนลดความเพี้ยนของสี ซึ่งมีวิธีการใช้คำสั่ง คือ คลิกที่เมนู Image-> Adjustment-> Auto Levels

คำสั่ง Auto Color

     เป็นคำสั่งที่ใช้ปรับสีและความต่างระหว่างความมืดและความสว่างให้กับภาพแบบอัตโนมัติซึ่งช่วยแก้ปัญหาสีเพี้ยน โดยมีวิธีการคือ คลิกที่เมนู Image-> Adjustment-> Auto Color

คำสั่ง Curves

เป็นคำสั่งที่ใช้ปรับสีและแสงเงาให้กับรูปภาพเหมือนคำสั่ง Levels แต่จะปรับแบบในลักษณะเส้นกราฟซึ่งสามารถกำหนดจุดเส้นได้ถึง 14 จุด จึงอาจทำให้สีเพี้ยนได้ เหมาะกับการสร้างเป็นเอฟเฟ็กต์ให้กับภาพ ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
คลิกที่เมนู Image -> Adjustment -> Curves จะปรากฏหน้าต่าง Curves
คลิกที่ Preview เพื่อให้แสดงตัวอย่างการปรับสีและแสง   คลิกที่เครื่องมือ เพื่อเลือกปรับแบบคลิกเมาส์ด้านซ้าย

คำสั่ง Color Balance

     เป็นคำสั่งที่ใช้ปรับความสมดุลให้กับภาพหรือใช้เปลี่ยนสีภาพก็ได้  เหมาะกับการปรับแก้ภาพเก่าให้ดูใหม่ขึ้น หรือใช้สร้างเอฟเฟ็กซ์ให้กับภาพ เป็นต้น ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
  1. คลิกที่เมนู Image -> Adjustment -> Color Balance จะปรากฏหน้าต่าง Color Balance
  2. คลิกที่ Preserve Lumionsity  เพื่อล็อกค่าความสว่างไว้ไม่ให้เปลี่ยนในขณะที่หรับสี
  3. คลิกที่ Preview เพื่อให้แสดงตัวอย่างการปรับสีและแสงคลิกเมาส์ด้านซ้ายค้างไว้แล้วลากไปในโทนสีที่ต้องการปรับเปลี่ยน โดยจะกำหนดโทนสีตรงข้ามกัน คือ สีฟ้า(Cyan) ตรงข้ามกับสีแดง (Red), สีม่วงแดง (Magenta) ตรงข้ามกับสีเขียว (Green) และ สีเหลือง(Yellow) ตรงข้ามกับสีน้ำเงิน (Blue) คลิกเลือกโทนการปรับสีและแสงเงาที่ตัวเลือก Tone Balance ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  • Shadows การปรับในโทนมืด
  • Midtone การปรับในโทนปานกลาง
  • Highlight การปรับในโทนสว่าง

4.คลิกที่ปุ่ม OK

คำสั่ง Brightness/Contrast

      เป็นคำสั่งที่ใช้ปรับแสงเงาของภาพแบบมีผลกับทุกพิกเซลเท่าๆกัน จึงทำให้ง่ายต่อการใช้งาน ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
คลิกที่เมนู Image -> Adjustment -> Brightness/Contrast จะปรากฏหน้าต่าง Brightness/Contrast
คลิกที่ Preview เพื่อให้แสดงตัวอย่างของแสงเงา คลิกที่ปุ่ม OK

คำสั่ง Hue/Saturation

      เป็นคำสั่งที่ใช้ปรับสีและแสงเงาให้กับรูปภาพ ซึ่งสามารถเลือกสีภาพที่จะปรับหรือเลือกปรับเป็นสีใดสีหนึ่งก็ได้  ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
  1. เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการ Selection ภาพในบริเวณที่ต้องการเปลี่ยนสี เช่น Selection ที่ชุดเพื่อเปลี่ยนสีชุดจากสีฟ้าเป็นสีชมพู
  2. คลิกที่เมนู Select -> Color Range จากนั้นคลิกเลือกพื้นที่ภาพ
  3. คลิกที่ปุ่ม OK จะได้ผลลัพธ์
  4. คลิกที่เมนู Image -> Adjustments -> Hue/Saturation จะปรากฏหน้าต่าง Hue/Saturation
  5. คลิกที่ Preview เพื่อให้แสดงตัวอย่างการปรับสีและแสงเงา
  6. คลิกที่ปุ่ม OK

คำสั่ง Desaturation

    เป็นคำสั่งที่ลดค่าความอิ่มตัวของสีให้เลือกเป็นสีเทา ซึ่งมีขั้นตอน คือ คลิกที่เมนู Image -> Adjustment -> Desatiration

คำสั่ง Replace Color

เป็นคำสั่งปรับสีรูปภาพในตำแหน่งที่เลือก ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
  1. เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการ
  2. คลิกที่เมนู Image -> Adjustment -> Replace Color จะปรากฏหน้าต่าง
  3. คลิกที่ Preview เพื่อให้แสดงตัวอย่างการปรับสี
  4. คลิกที่ปุ่ม OK

คำสั่ง Selective Color

เป็นคำสั่งที่ใช้ปรับเพิ่มหรือลดค่าของสีที่โหมดสี CMYK ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
  1. เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการ
  2. คลิกที่เมนู Inage -> Adjustment -> Selective Color จะปรากฏหน้าต่าง
  3. คลิกที่ Preview เพื่อให้แสดงตัวอย่างการปรับสี
  4. คลิกที่ปุ่ม OK


คำสั่ง Channel Mixer

เป็นคำสั่งที่ใช้ปรับเพิ่มหรือลดสีในแต่ละแชนเนลหรือใช้ผสมในแต่ละแชนเนลก็ได้ เหมาะกับภาพแบบเป็นโทนสีเดียว ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

  1. เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการ
  2. คลิกที่เมนู Image -> Adjustment -> Channel Mixer
  3. คลิกที่ Preview เพื่อให้แสดงตัวอย่างการปรับสี
  4. คลิกที่ปุ่ม OK

การสร้างภาพแบบ Grayscale

ทำตามขั้นตอนที่ 1-3 ในคำสั่ง Channel Mixer จากนั้นคลิกที่ตัวเลือก Monochrome เพื่อเปลี่ยนภาพจากโหมด RGB เป็น Grayscale ซึ่งเป็นภาพสีเทา จากนั้นคลิกที่ปุ่ม OK

คำสั่ง Gradient Map

เป็นคำสั่งที่ใช้ปรับสีภาพแบบการไล่น้ำหนักโทนสีจากสีใน Gradient Map ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
  1. เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการ
  2. คลิกที่เมนู Image -> Adjustment -> Gradient Map จะปรากฏหน้าต่าง
  3. คลิกที่เมนู Preview เพื่อให้แสดงตัวอย่างการปรับสี
  4. คลิกที่ลูกศรในตัวเลือก Gradient Used for Grayscale Mapping จากนั้นคลิกเลือกสีที่ต้องการ
  5. คลิกเลือกรูปแบบการทำงานที่ตัวเลือก Gradient Options   Dither กำหนดให้การไล่สีมีความกลมกลืน Reverse กำหนดกลับด้านทิศทางการไล่สี
  6. คลิกที่ปุ่ม OK

คำสั่ง Invert

เป็นคำสั่งแปลงสีภาพให้เป็นสีแบบบนแผ่นฟิล์ม โดยคลิกที่เมนู Inage -> Adjustment -> Invert

คำสั่ง Equalize

เป็นคำสั่งปรับภาพให้มีความคมชัดขึ้น โดยการหาพิกเซลที่มีความมืดที่สุดและพิกเซลที่มีความสว่างที่สุด จากนั้นจึงปรับพิกเซลที่เหลือให้มีความสมดุลกัน โดยคลิกที่เมนู Image -> Adjustment -> Equalize จะได้ผลลัพธ์

คำสั่ง Threshold

เป็นคำสั่งแปลงภาพให้เป็นสีขาวดำ โดยจะแทนที่พิกเซลที่มีความมืดเป็นสีดำและแทนพิกเซลที่มีความสว่างเป็นสีขาว ซึ่งทีขั้นตอนดังนี้
  1. คลิกที่เมนู Image -> Adjustment -> Threshold จะปรากฏหน้าต่าง
  2. คลิกที่เมนู Preview เพื่อให้แสดงตัวอย่างการแปลงสี
  3. คลิกที่ปุ่ม OK

คำสั่ง Posterize

เป็นคำสั่งที่ลดจำนวนสีในแต่ละแชลเนลลง จึงทำให้ภาพมีการตัดกันของสีที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
  1. คลิกที่เมนู Image -> Adjustment -> Posterize จะปรากฏหน้าต่าง
  2. คลิกที่ Preview เพื่อให้แสดงตัวอย่างการแปลงสี ป้อนตัวเองที่ต้องกี่ลดสีลงในแต่ละแชนเนลในช่อง Levels

คำสั่ง Variations

เป็นคำสั่งที่ใช้ปรับสีและแสงเงาให้กับรูปภาพ โดยเลือกเปลี่ยนตามสีที่ระบุ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
คลิกที่เมนู Inage -> Adjustment -> Variations จะปรากฏหน้าต่าง
คลิกที่ Show Clipping เพื่อแสดงภาพที่ปรับกำหนดส่วนที่ต้องการปรับ ดังนี้
  • Shadows ปรับส่วนที่มืดของภาพ
  • Midtones ปรับส่วนที่สว่างปานกลางของภาพ
  • Highlights ปรับส่วนที่สว่างของภาพ
  • Saturation ปรับความอิ่มตัวของสี

กำหนดความละเอียดในการปรับที่ตัวเลื่อน Fine/Coarse โดยคลิกเมาส์ด้านซ้ายค้างไว้แล้วลากมด้านซ้ายทำให้ เพิ่มความละเอียดในการปรับ แต่ถ้าลากไปด้านขวาจะทำให้ลดความละเอียดในการปรับและจะทำให้การปรับมีผลเร็ว เสร็จแล้ว คลิกที่ปุ่ม OK

หลักการทำงานและการแสดงผลของภาพกราฟิก


คอมพิวเตอร์กราฟิก คือ การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ ยกตัวอย่างเช่น การทำ Image Retouching ภาพคนแก่ให้มีวัยที่เด็กขึ้น การสร้างภาพตามจินตนาการ และการใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้ตรงตามที่ผู้สื่อสาร ต้องการและน่าสนใจยิ่งขึ้นด้วยกราฟ แผนภูมิ แผนภาพ เป็นต้น
     กราฟิกแบบ 2 มิติ (2 Dimension : 2D) เป็นภาพที่คุ้นเคยและพบเห็นโดยทั่วไป เช่น ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ รวมถึงการ์ตูนต่างๆ ในโทรทัศน์
     ดังนั้น กราฟิกแบบ 2 มิติ คือ ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ โดยมีลักษณะเป็น 2 มิติ คือ สามารถมองเห็นตามแนวแกน X(ความกว้าง) กับ แกน Y(ความยาว)
ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB ซึ่งประกอบด้วยสีแดง (Red) สีเขียว (Green) และสีน้ำเงิน (Blue) โดยใช้หลักการยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง 3 สี มาผสมกันทำให้เกิดเป็นจุดสีสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสี เมื่อนำมาวางต่อเป็นรูปภาพ ซึ่งภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มี 2 ประเภท คือ แบบ Raster และแบบ Vector

หลักการของกราฟิกแบบ Raster
     หลักการของกราฟิกแบบ Raster หรือแบบ Bitmap เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ นี้ว่าพิกเซล ในการสร้างภาพกราฟิกจะต้องกำหนดจำนวนของพิกเซลให้กับภาพที่ต้องการสร้าง ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลน้อย เมื่อขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้มองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หรือถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลมากก็จะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่
ดังนั้นการกำหนดพิกเซลควรกำหนดให้เหมาะสมกับงานที่สร้าง คือ
  • การใช้งานทั่ว ๆ ไป กำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 100-150 ppi (Pixel/inch) หรือจำนวนพิกเซลต่อ 1 ตารางนิ้ว
  • งานที่ต้องการความละเอียดน้อยและแฟ้มภาพมีขนาดเล็ก เช่น ภาพสำหรับใช้กับเว็บไซต์จะกำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 72 ppi
  • งานพิมพ์ เช่น นิตยสาร โปสเตอร์ขนาดใหญ่ จะกำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 300-350
  • ข้อดีของภาพกราฟิกแบบ Raster คือ สามารถแก้ไขปรับแต่งสีตกแต่งภาพ ได้ง่ายและสวยงาม โปรแกรมที่นิยมใช้ คือ Paint, Adobe Photoshop

หลักการของกราฟิกแบบ Vector
เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณ ภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน แยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพไม่ลดลง แฟ้มมีขนาดเล็กกว่าแบบ Raster ภาพกราฟิกแบบ Vector นิยมใช้เพื่องานสถาปัตย์ตกแต่งภายใน และการออกแบบต่าง ๆ เช่น การออกแบบอาคาร การออกแบบรถยนต์ การสร้างโลโก การสร้างการ์ตูน เป็นต้น โปรแกรมที่นิยม คือ โปรแกรม Illustrator , CorelDraw , AutoCAD , 3Ds max
ข้อดีของภาพกราฟิกแบบ Vector คือ เมื่อทำการขยายภาพที่วาดแล้ว ภาพจะยังคงความละเอียดเสมอ
พิกเซล (Pixel) คือ จุดหนึ่งจุดในหน้าจอ ซึ่งถ้าตั้งค่าพิกเซลมาก จะทำให้ภาพที่เราสร้างขึ้นมีความละเอียดของสีเพิ่มขึ้น แต่ก็จะทำให้ไฟล์ภาพใหญ่ตามไปด้วย

การตั้งค่าไฟล์ หากต้องการสร้างไฟล์ที่ต้องการให้แสดงผลทางหน้าจอเพียงอย่างเดียว เช่น การออกแบบเว็บไซต์ ให้ตั้งค่าประมาณ 72 pixel/Inc แต่ถ้าต้องการพิมพ์ออกมาทางเครื่องพิมพ์ ควรตั้งค่า ประมาณ 300 pixel/Inc 

ประเภทของภาพกราฟิก


   1. ภาพราสเตอร์ (Raster)

    หรือเรียกว่าภาพแบบ  Bitmap  ก็ได้ เป็นภาพที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ นี้ว่าพิกเซล (pixels)  ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลให้กับภาพน้อย เวลาขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น จะมองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หรือถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลให้กับภาพมาก ก็จะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่  ดังนั้นการกำหนดจำนวนพิกเซลต้องให้เหมาะกับงานที่จะสร้าง

     ตัวอย่าง

  • ภาพใช้งานทั่ว ๆไป ให้กำหนดพิกเซล ประมาณ 100-150 Pixel
  • ภาพที่ใช้บนเว็บไซต์ ให้กำหนดพิกเซล ประมาณ 72 Pixel
  • ถ้าเป็นภาพแบบงานพิมพ์ เช่น นิตยสาร โปสเตอร์ขนาดใหญ่ จะกำหนดพิกเซลประมาณ 300-350 Pixel

    ข้อดีของภาพชนิด Raster
  • สามารถแก้ไขปรับแต่งได้
  • ตกแต่งภาพได้ง่ายและสวยงาม

     นามสกุลที่ใช้เก็บภาพแบบ Raster

นามสกุลที่ใช้เก็บ
ลักษณะงาน
โปรแกรมที่ใช้สร้าง
.JPG, JPEG, JPE,.GIF
ใช้สำหรับรูปภาพทั่วไป งานเว็บเพจ และงานที่มีความจำกัดด้านพื้นที่หน่วยความจำ
โปรแกรม Photoshop, PaintShopPro , Illustrator
.TIFF , TIF
เหมาะสำหรับงานด้านนิตยสาร เพราะมีความละเอียดของภาพสูง
.BMP , DIB
ไฟล์มาตรฐานของระบบปฏิบัติการ
วินโดว์
โปรแกรม PaintShopPro , Illustrator
   

   2. ภาพแบบเวคเตอร์ (Vector)

               เป็นภาพที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณ ซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพไม่ลดลง แฟ้มภาพมีขนาดเล็กกว่าภาพแบบ Raster
      
     ข้อดีของภาพชนิด Vector
  • นิยมนำไปใช้ในด้านสถาปัตย์ตกแต่งภายในและการออกแบบต่าง ๆ เช่น การออกแบบอาคาร การออกแบบรถยนต์ การสร้างโลโก้ การสร้างการ์ตูน


     โปรแกรมที่นิยมนำมาสร้างภาพแบบ Vector
  • โปรแกรม Illustrator
  • CorelDraw
  • AutoCAD
  • 3Ds max ฯลฯ

      นามสกุลที่ใช้เก็บภาพแบบ Vector

นามสกุลที่ใช้เก็บ
ลักษณะงาน
โปรแกรมที่ใช้สร้าง
.AI,.EPS
ใช้สำหรับงานที่ต้องการความละเอียดของภาพมาก เช่น การสร้างการ์ตูน การสร้างโลโก เป็นต้น
โปรแกรม Illustrator
.WMF
ไฟล์มาตรฐานของระบบปฏิบัติการ
วินโดว์
โปรแกรม CorelDraw